เครียดลงกระเพาะ เกิดจากอาการเครียดที่เป็นจุดเริ่มต้นของโรค สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย บางคนสามารถจัดการกับความเครียดได้ แต่บางคนสะสมความเครียดจนมีอาการปวดท้องและคลื่นไส้จนเกิดโรคที่เรียกกันว่า โรคเครียดลงกระเพาะ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความเครียดที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นจนทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

เครียดลงกระเพาะ คืออะไร

เครียดลงกระเพาะ คือภาวะความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะในระบบย่อยอาหารที่เกิดจากความเครียด รวมทั้งทำให้โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารมีอาการทรุดหนักลง  ซึ่งอวัยวะต่างๆ ในส่วนนั้นมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดความเครียด สมองจะสั่งการให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากกว่าปกติ และกระเพาะอาหารถูกกระตุ้นให้บีบตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ในช่องท้องมีการระคายเคือง

โรคเครียดลงกระเพาะไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ แต่มักโรคเรื้อรังที่รบกวนต่อคุณภาพชีวิตเพราะอาการมักจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือบางครั้งอาจมีอาการรุนแรงได้เป็นช่วงๆ แต่หากมีอาการเครียดลงกระเพาะผิดปกติที่เป็นสัญญาณเตือน เช่น น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ กลืนลำบาก กลืนเจ็บ ถ่ายดำหรืออาเจียนเป็นเลือด กินอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็วขึ้น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนเรื้อรัง หรืออ่อนเพลียผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมว่าเสี่ยงมีอาการแทรกซ้อนหรือเป็นภาวะของโรคร้ายแรงอื่น ๆ หรือไม่ เช่น โรคมะเร็งในช่องท้อง

อาการของโรค

โรคเครียดลงกระเพาะ มีอาการดังนี้

  • ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่
  • กินแล้วอิ่มเร็ว อิ่มนาน
  • แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่
  • กินได้น้อยลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สุขสบายในช่องท้อง
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • เรอ สะอึก หรือผายลมบ่อย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • เสียดแน่นหน้าอก
  • ขับถ่ายออกมาเป็นสีดำ หรือมูกเลือด

การป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะ

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ความเครียด และการวิตกกังวล
  • อาหารรสจัด และอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล หรือโซเดียมในปริมาณสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนสูง
  • การสูบบุหรี่

สิ่งที่ควรทำ

  • รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายๆ เช่น เนื้อปลา
  • รับประทานผัก ผลไม้ นมรสเปรี้ยว และโยเกิร์ต ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาหารเหล่านี้ มีจุลินทรีย์ที่ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย ส่งผลให้ระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อมีความเครียด ควรปรึกษาปัญหาจากบุคคลรอบข้างที่ไว้ใจได้ หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น นักจิตวิทยา
  • ฝึกการหายใจ และทำสมาธิ

จัดตารางการทำงานในแต่ละวัน

เครียดลงกระเพาะมีความเครียดที่เกิดจากการทำงานเป็นสาเหตุหลัก ดังนั้นก่อนเริ่มทำงานในแต่ละวัน ควรจัดตารางในการทำงานให้ดีว่าวันนี้ต้องทำอะไรบ้างและลำดับความสำคัญว่าควรทำอะไรก่อนหลัง จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวม กำหนดเวลางานแต่ละชิ้นได้เหมาะสม แต่ถ้างานที่ต้องรับผิดชอบมีมากเกินไปหรือรู้สึกว่าควบคุมไม่ไหว ควรขอความช่วยเหลือหรือพูดคุยหาทางแก้ปัญหากับหัวหน้างานโดยตรง

วิธีป้องกัน โรคเครียดลงกระเพาะที่ดีที่สุด คือ การเอาตัวเองออกมาให้พ้นจากความเครียดให้ได้มากที่สุด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อจะไม่เสี่ยงกับโรคนี้

เครียดลงกระเพาะ

ผลกระทบจากภาวะเครียดลงกระเพาะ

  • มีกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น หรือมีการหลั่งกรดในการย่อยอาหารน้อยลง
  • เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร
  • หลอดอาหารมีการบิดเกร็งมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน
  • การเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดี
  • ลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย
  • ลำไส้ใหญ่มีการตอบสนองต่อความเครียด ส่งผลให้การขับถ่ายมีความผิดปกติ

ผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาของผู้ป่วยเครียดลงกระเพาะ ได้แก่

  • ท้องอืด หรือภาวะอาหารไม่ย่อย เกิดจากการหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง
  • แบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี
  • ทำให้เสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง
  • ลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสีย
  • ความเครียดยังกระตุ้นให้อาการของโรคระบบทางเดินอาหารแย่ลงได้ เช่น ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

นอกจากนี้ โรคเครียดลงกระเพาะยังกระตุ้นก่อให้เกิดภาวะความผิดปกติ และโรคต่างๆ ได้แก่

  • โรคลำไส้แปรปรวน
  • ลำไส้อักเสบ
  • กระเพาะอาหารอักเสบ
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • ท้องผูก
  • ท้องเสีย

การรักษาภาวะเครียดลงกระเพาะ

การปรับพฤติกรรม

  • รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ และตรงเวลา
  • ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง และนั่งสมาธิ
  • วางแผนการทำงาน  และจัดสรรเวลาชีวิตให้มีความสมดุลกัน
  • พบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และทำการวินิจฉัยโรคอื่นๆ เพิ่มเติม

ผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเครียดลงกระเพาะมาก ควรทำการป้องกันไม่ให้เกิดความเครียด รวมทั้งการผ่อนคลายอย่างเหมาะสม เพราะนอกจากผลกระทบต่อทางร่างกายแล้ว ยังสามารถทำให้จิตใจผิดปกติตาม ทั้งนี้ผู้ป่วยจากภาวะเครียดลงกระเพาะ และทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่อาการยังไม่บรรเทาลง หรือแย่ขึ้นเรื่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาให้ตรงจุดเกิดโรค

โรคเครียดลงกระเพาะสามารถรักษาให้หายขาดได้ วิธีการก็ไม่ได้มีอะไรที่ต้องเสียเงินมากมาย อยู่ที่ใจเราจะปรับอารมณ์ไม่ให้เครียดจนเกินไปได้ไหมเป็นสำคัญที่สุด เช่น หากิจกรรมผ่อนคลาย หัวเราะบ้าง คุยเล่นกับเพื่อนบ้าง ดูรายการตลกบ้าง เป็นต้น ส่วนวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยให้หายจากโรคนี้ ได้แก่

• ทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 3 มื้อ จะช่วยให้กระเพาะอาหารเคยชินกับการย่อย และปล่อยน้ำย่อยออกมาในปริมาณที่พอดี

• เลิกสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด รวมถึง ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ

• หยุดกินยาแอสไพริน ยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ ที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ เพราะยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบมากขึ้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาบางชนิด ให้สอบถามแพทย์ก่อนใช้ยา

• ออกกำลังกาย ทุกครั้งที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟินออกมา ทำให้รู้สึกสบายใจ และช่วยลดความวิตกกังวลได้

• ระบายความเครียดออกมาบ้าง การเล่าความเครียดให้ผู้อื่นฟัง หรือจดบันทึกส่วนตัวสามารถช่วยระบายความเครียดได้เป็นอย่างดี

• หากมีความเครียดที่เกิดจากการหมกมุ่นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีต หรือเอาแต่คิดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ให้หมั่นดึงจิตใจให้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน มีสติ ยอมรับความจริง และคิดหาทางแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ

อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อเครียดลงกระเพาะ

เมื่อเกิดภาวะความตึงเครียดในร่างกายทำให้เกิดโรคเครียดลงกระเพาะ ระบบย่อยอาหารในร่างกายจะหยุดชะลอการดูดซึมลงชั่วคราว ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การเลือกบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เช่นต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา หมูมะนาว กุ้งแช่น้ำปลา
  • หลีกเลี่ยงของทอด ของมัน เช่น ปอเปี๊ยะทอด ทอดมันกุ้ง ทอดมันปลา เผือกทอด เต้าหู้ทอด
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น แหนม มะม่วงดอง ฝรั่งดอง
  • หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีน้ำตาลมาก
  • ควรบริโภคอาหารอ่อน อาหารย่อยง่าย รสจืด เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก
  • งดเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และกาแฟ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • ควรบริโภคอาหารให้ตรงต่อเวลาทุกมื้อ
  • ควรบริโภคอาหารให้ครบทั้งสามมื้อ เช้า กลางวัน เย็น

 

การจัดการความเครียดสามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ เพียงลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายให้พอดี เพื่อกระตุ้นหลั่งสารเอ็นโดรฟินที่จะช่วยผ่อนคลายความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ หรือจะฟังเพลง เล่นโยคะ ฝึกสมาธิ หรืออาจจะปรึกษาครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง เพื่อพูดคุยระบายความเครียดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้สบายใจขึ้นได้ สำหรับในบางรายที่ไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเอง แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยแนะนำวิธีรับมือกับความเครียดและเปลี่ยนมุมมองกับปัญหาที่เจอ และเป็นการป้องกันการเกิดโรคเครียดลงกระเพาะ

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  trc168.net

สนับสนุนโดย  ufabet369